เมื่อยางรั่วควรปะแบบไหนดี

เมื่อยางรั่วควรปะแบบไหนดี

ผู้ขับขี่ทั้งรถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์หลายคนอาจเคยประสบกับปัญหาเติมลมยางไม่เข้า เพิ่งจะเติมลมไปอ้าวทำไมยางแบนอีกแล้ว และเมื่อลองตรวจสอบเนื้อยางในที่สุดก็เจอเข้ากับบาดแผดไม่ว่าจะเป็น ตะปู หรือน็อต ที่มันเสียบแทงของไปในยางสุดที่รักของเรา หรือแม้กระทั่งยางแตก แล้วเคยเกิดข้อสงสัยไหมว่าพอเราไปที่ร้านยางเพื่อที่จะ ปะยาง ทำไมบางร้านทำอีกแบบหนึ่ง แล้วทำไมร้านนี้ทำอีกแบบหนึ่งหรืออาจจะเคยเจอคำถามเช่นนี้ในเว็บ Dek-D เราจะมาอธิบายความเหมาะสมในการปะยางแต่ละรูปแบบให้เข้าใจ

 

ซึ่งร้านปะยางทั่วไปจะมีการปะยางที่สามารถแยกได้เป็น 2 รูปแบบคือ

1. การปะยางแบบแทงไหม หรือตัวหนอน

การปะยางในรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่สะดวกและใช้เวลาในการทำที่รวดเร็วที่สุดโดยไม่จำเป็นต้องถอดยางรถออกมาจากล้อแม็ก หรือไม่จำเป็นต้องถอดล้อออกจากตัวรถให้วุ่นวาย แต่เราจะใช้การปะยางวิธีนี้เฉพาะกับรอยรั่วที่เป็นแผลขนาดเล็กเท่านั้นเช่น รอยที่เกิดจากตะปู, เกลียวปล่อย หรือน็อตขนาดเล็ก โดยมีวิธีการทำคือดึงตะปูออกจากตัวยาง ใช้ตะไบปลายแหลมเสียบเข้าไปเพื่อเป็นการทำความสะอาดรอยรั่วให้เรียบร้อยก่อนที่จะใช้ตัวหนอนที่มีส่วนผสมของใยสังเคราะห์, ยางดิบ และกาวลงไป ตัดส่วนที่เกินออกเหลือไว้เพียงเล็กน้อยก็เป็นอันเสร็จสิ้นสามารถใช้งานได้ทันที แต่มันก็ยังมีข้อเสียคือไม่ทนต่อความร้อนเหมือนกับการสตีมร้อน รวมถึงไม่เหมาะกับรถที่มีความเร็วสูง และรถที่จะต้องบรรทุกของหนักๆ

 

2. การปะยางแบบสตีม

การสตีมยาง เป็นวิธีการปะยางที่เกิดขึ้นมานานแล้วสามารถใช้ได้กับยางรถทุกประเภท ตั้งแต่สองล้อขนาดเล็กอย่างยางรถจักรยาน ไปจนกระทั่งพี่ใหญ่อย่างยางรถบรรทุก โดยการสตีมยางมีวิธีการทำได้ 2 อย่างคือ

- การสตีมเย็น การสตีมเย็นมีวิธีการทำคือการใช้แผ่นยางอีกแผ่นหนึ่งมาเป็นตัวอุดรอยรั่ว ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะใช้ยางรถที่ไม่ใช้แล้วหรือถูกทิ้ง มาใช้ในการติดกับรอยที่รั่วซึม

หลังจากนั้นก็รอให้แห้งก็จะพร้อมใช้งานอีกครั้ง การสตีมแบบนี้ไม่ทำให้ยางเสียรูปทรง แต่จะทำให้ยางทนต่อความร้อนได้ไม่มากนัก จึงเป็นวิธีที่เหมาะกับยางรถจักรยานมากที่สุด

- การสตีมร้อน วิธีการทำจะต้องใช้ยางชนิดพิเศษและผ่านการหลอมด้วยความร้อน หลังจากนั้นจะนำไปประกบที่รอยรั่วของยางที่ต้องการปะ และจะมีเครื่องมือเฉพาะในการกดทับเพื่อให้แผ่นยางประสานกับยางรถของเรา แผ่นยางที่นำใช้ปะก็จะแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับยางของเรา หลังจากนั้นก็ทิ้งไว้สักพักระหว่างนั้นก็ไปเล่น เกมส์ตกปลา  เดี๋ยวยางก็จะสามารถนำมาใช้งานได้ตามปกติ และยังคงความสามารถในการรับน้ำหนักได้อย่างปกติ การปะยางด้วยวิธีนี้จึงเหมาะกับรถทุกประเภทตั้งแต่ยางมอเตอร์ไซค์ไปจนถึงยางรถบรรทุก แต่ข้อควรระวังคือมีโอกาสที่ความร้อนจะไปทำให้โครงสร้างของยางเสียหาย และเป็นสาเหตุทำให้ยางบวมได้